Written by Super User

ประวัติโรงเรียนบ้านทิพย์นวด

 

         โรงเรียนบ้านทิพย์นวด  สร้างเมื่อวันที่  ๑๔  มกราคม  ๒๔๘๖  โดยมีนายเขียง  จันทร์หอม  นายตุ – นายสอน  นามเคน  เป็นหัวหน้าพาราษฎรในหมู่บ้านจัดหาเงินสร้างอาคารเรียน  และตั้งชื่อว่า  “โรงเรียนบ้านไพรขลา ๘ (ทิพย์นวด)” ตัวอาคาร สร้างโดยใช้ไม้ทางมะลิลา  ขนาด  ๒  ห้องเรียน  หลังคามุงหญ้าคา  พื้นกระดาน  สิ้นค่าก่อสร้าง  ๑๕  บาท  เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อวันที่  ๑๕  มกราคม  ๒๕๘๖  โดยมีนายผ่อง   กระแสร์อินทร์  ศึกษาธิการอำเภอชุมพลบุรีในสมัยนั้นเป็นประธานเปิด  ทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๔  มีนักเรียนทั้งหมด  ๒๔  คน  นายถวิล  มีชัย  เป็นครูใหญ่  คนแรก

          ปี พ.ศ. ๒๕๐๕  นายแหร่ม  โสภาพันธ์  ครูใหญ่  ได้นำชาวบ้านช่วยกันดัดแปลงอาคารเรียน จากรูปทรงเดิมเป็นมุงด้วยสังกะสี  ยกพื้นสูง ๑  เมตร  ตีฝากระดาน  สิ้นค่าใช้จ่าย  ๒,๐๐๐  บาท

          ปี พ.ศ. ๒๕๑๕  ทางราชการจัดสรรงบประมาณมาปรับปรุงอีกเป็นเงิน  ๑๐,๐๐๐  บาท           มีการขยายห้องเรียน  ปูพื้นใหม่  และลดพื้นที่ลงเหลือ ๐.๗๕  เมตรตีฝา ทำช่องประตู หน้าต่าง  ๒  ช่อง  บันได  ๒  ข้าง  รูปทรงของอาคารเรียนยังเหมือนเดิม

ปี พ.ศ. ๒๕๑๖  นายสำเริง  ภวภูตานนท์  ณ  มหาสารคาม  ครูใหญ่พร้อมด้วยชาวบ้าน  กรรมการศึกษา  ได้ช่วยกันฝังเสารั้วล้อมลวดหนาม

          ปี พ.ศ. ๒๕๑๘  ได้รับงบประมาณ  ๙๐,๐๐๐บาทสร้างอาคารเรียนแบบป.๑ ฉจำนวน
๑  หลัง  ๒  ห้องเรียน  บ้านพักครู  จำนวน  ๑  หลัง 

          ปี พ.ศ. ๒๕๒๒  นายสมพร  อรุณปรีด์  ครูใหญ่  ได้หาเงินจำนวน  ,๒๕๐  บาท  ว่าจ้างรถปรับสนาม  แต่ยังไม่ได้มาตรฐาน

          ปี พ.ศ. ๒๕๒๔  เปิดขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕  มีนักเรียน  ๑๖๔  คน  ครู ๖คน  และในปีเดียวกันนี้  ได้รับการจัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ  ป.๑ ฉ  จำนวน  ๑  หลัง  ๒  ห้องเรียน

          ปี พ.ศ. ๒๕๒๖  นายสุนันท์  ศรีเพ็ง  ผู้บริหารโรงเรียนได้ขอความร่วมมือจากหน่วย ร.พ.ช.สุรินทร์  นำรถมาปรับสนามจนสามารถใช้การได้

          ปี พ.ศ. ๒๕๒๗  ได้รับการจัดสรรงบประมาณ  จำนวน  ๒๖,๐๐๐  บาท  มาต่อเติมอาคารเรียนอี ๔ ห้องเรียน  และในปีเดียวกัน  สภาตำบลนาหนองไผ่  ได้จัดสรรเงินโครงการ ก.ศ.ช.  จำนวน  ๓๑,๐๐๐  บาท  สร้างอาคารเก็บน้ำฝน แบบ  ฝ.๓๓    ๒๐  กันยายน ๒๕๒๗  สร้างอาคารอเนกประสงค์  โดยใช้งบประมาณ๑๗๐,๐๐๐  บาท  และต่อมาขออนุมัติรื้อถอน  เนื่องจากอาคารเอนกประสงค์หลังดังกล่าวประสบภัยธรรมชาติ  (ต้นไม้ใหญ่ล้มทับพังเสียหายทั้งหลัง)

          ปี พ.ศ. ๒๕๒๘  นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้มาออกค่าอาสาพัฒนาแหล่งน้ำ  ได้สร้างเรือนเพาะชำ  และปรับปรุงบริเวณเสาธงให้สวยงามยิ่งขึ้น

          วันที่  ๑๒  พฤษภาคม  ๒๕๒๙  นายสมาน – นางเขี่ยม  บรรลุสุข  ได้มอบพระพุทธรูป  ๑  องค์  ให้แก่โรงเรียน  คิดเป็นมูลค่า  ๒,๖๐๐  บาท

          ปี พ.ศ. ๒๕๓๑  ร.พ.ช.สุรินทร์  ได้สร้างถังเก็บน้ำฝนให้จำนวน  ๔  ถัง  มูลค่า  ๒,๐๐๐  บาท  ทางโรงเรียนออกงบประมาณสมทบอีก  ๖,๕๐๐  บาท  เพื่อสร้างสนามเด็กเล่น  และได้รับงบประมาณ อีก  ๔,๐๐๐  บาท  เพื่อสร้างส้วมแบบ  สปช. ๖๐๑ / ๒๖

          ปี พ.ศ. ๒๕๓๒  ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. ๑๐๓ / ๒๖  ขนาด ๔ ห้องเรียนมูลค่า  ๘๑๖,๐๐๐  บาท  และในปีเดียวกัน  โรงเรียนและเยาวชนได้ร่วมกันจัดงานเพื่อหาเงินสร้างรั้ว   ด้านหน้า  ได้เงินจำนวน ๘,๕๐๐  บาท

          ปี พ.ศ. ๒๕๓๗  ได้รับการจัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์แทนหลังเก่าที่ชำรุด  แบบ สปช. ๒๐๒ / ๒๖  มูลค่า ๓๐๐,๐๐๐  บาท

          ปี พ.ศ. ๒๕๓๘  โรงเรียนได้รับเงินบริจาคจากคณะผ้าป่าสามัคคี  กรุงเทพมหานคร “ชาวบ้านทิพย์นวด” เพื่อสร้างโรงครัวสำหรับใช้ประกอบอาหารกลางวัน  เป็นเงิน  ๑๕,๐๐๐  บาท

          ปี พ.ศ. ๒๕๓๙  ผู้รับเหมาขุดแหล่งน้ำของหมู่บ้านได้นำดินมาถมสนามโรงเรียน  ทำให้สามารถ ใช้เป็นสนามกีฬาของโรงเรียนได้ 

          ปี พ.ศ. ๒๕๔๐  โรงเรียนได้รับการอนุมัติให้เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล ๑ – ๒  และโครงการ  ขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  (ม.๑ – ม.๓)  และในปีเดียวกัน  โรงเยนและคณะเยาวชนบ้านทิพย์นวด  ได้ร่วมกันปรับปรุงบริเวณที่รื้อถอนอาคารเอนกประสงค์ให้เป็นลานกีฬา      ซึ่งใช้เป็นสนามวอลเลย์บอลและสนามตะกร้อ

          ปี พ.ศ. ๒๕๔๒  ชาวบ้านในเขตบริการของโรงเรียนบ้านทิพย์นวด  ประกอบด้วย  หมู่ที่ ๕ , ๑๒ , ๑๕  และหมู่ที่ ๑๘  ตำบลนาหนองไผ่  ได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินมอบให้เป็นสมบัติของโรงเรียน  จำนวน  ๒  แปลง  มรพื้นที่  ๑ ไร่ ๓ งาน ๓๙ ตารางวา  ทำให้โรงเรียนมีพื้นที่  ๑๑ ไร่ ๒ งาน ๘๕ ตารางวา  และในปีเดียวกัน  โรงเรียน ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (งบมิยาซาวา) ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. ๑๐๕ / ๒๖ จำนวน  ๑ หลัง ๔ ห้องเรียน  ใช้งบประมาณ  ๑,๘๓๓,๐๐๐  บาท  สร้างบนที่ดินผืนใหม่ที่ชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคซื้อให้

          ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านทิพย์นวด  มีอาคารเรียน จำนวน ๔ หลัง  อาคารเอนกประสงค์ จำนวน  ๑ หลัง บ้านพักครู จำนวน ๑ หลัง ส้วม ๒ หลัง  ข้าราชการครู   ๑๔ คน  ไปช่วยราชการ ๑ คน พนักงานราชการ ๔ คน พี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน  นักครุภัณฑ์ ๓ จำนวน ๑ คน  นักเรียน ๒๖๕ คน        และมี ดร.บุญเกิด เหลามี     เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน  ซึ่งเป็นผู้บริหารคนที่  ๒๒   ของโรงเรียนบ้านทิพย์นวด

Category: